ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 13 ความร่วมมือของไทยกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบทบาทของไทยในสังคมโลกปัจจุบัน

บทบาทของไทยสมัยประชาธปไตยต่อสังคมโลก

           สังคมโลกได้พัฒนามาสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคไร้พรมแดนอันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  โลกาภวัฒน์ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขื้น ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) ซึ่งมีผลมาถึงปัจจุบัน ประเทศไทยฐานะหน่วยหนึ่งของสังคมโลก จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดซึ่งได้ดำเนินมาตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน นับตั้งแต่ชาติตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการปรับตัวที่สะท้อนให้เห็นถึงกุศโลบายอันแยบยลของผู้นำไทยที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เข้าใจสภาพความเป็นจริงระหว่างประเทศ สามารถดำเนินนโยบายที่ชาญฉลาด โดยยอมเสียสละบางอย่างเพื่อรักษาเอกราชและอิสระภาพของประเทศไว้
 การปรับตัวของไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
                   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยต้องมีการปรับตัวที่สำคัญที่สุด คือ ภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้เราต้องเปิดประเทศติดต่อกับตะวันตก และเริ่มปรับตัวเข้าสู่ยุดใหม่ นับตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง กับประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1855 (พ.ศ. 2398) เป็นต้นมา จากนั้นสังคมไทยก็มีการปรับตัวมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
                   1. การปรับตัวของไทยหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง
                   สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีที่ไทยทำกับประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1855 เป็นสนธิสัญญาที่บังคับให้ไทยต้องเปิดการค้าเสรีกับประเทศอังกฤษ ภายหลังได้มีประเทศตะวันตกชาติอื่นๆ เข้ามาขอทำสนธิสัญญากับไทยเช่นเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริง สัญญาเหล่านี้เป็นสัญญาที่บังคับให้ไทยต้องเปิดการค้าเสรีกับประเทศตะวันตกไทยไม่มีทางเลี่ยงจึงจำเป็นต้องทำในภาวะจำยอม
                   ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งระบบเศรษฐกิจไทยได้เชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก ระบบการผลิตของไทยเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการค้า การค้าขยายตัวมีชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบจากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งทำให้ไทยต้องมีการปรับตัวทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ดังนี้
                                1.1 การปรับปรุงด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม โดยการปรับปรุงประเพณีที่ล้าสมัยและส่งเสริมการเรียนภาษาอังกฤษ การเปิดโอกาสให้พวกมิชชันนารีเข้ามาตั้งโรงเรียนสอนศาสนา ตั้งโรงพิมพ์ ออกหนังสือ Bangkok Recorder และเผยแพร่วิทยาการด้านต่าง ๆ การส่งเสริมการศึกษา การตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เพื่อฝึกคนเข้ารับราชการ การส่งคนไทยไปศึกษาต่างประเทศ ที่สำคัญที่สุด คือ การเลิกทาส และเลิกระบบไพร่
                                1.2  การปฏิรูประบบเงินตราและการธนาคาร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การปฏิรูปเงินตรา การออกธนบัตร การตั้งหน่วยงานกลางสำหรับเก็บภาษี การตั้งกระทรวงการคลัง การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเงินตราจากมาตรฐานเงินเป็นมาตรฐานทองคำ การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน การปรับปรุงด้านการเกษตร และการชลประทาน การตัดถนน ขุดคลอง การไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างเมืองหลวงกับหัวเมือง
                                1.3 การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองจากเดิมเปลี่ยนมาเป็นแบบกระทรวง ทบวง กรม ยกเลิกการปกครองแบบกินเมือง เปลี่ยนเป็นการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ รวมอำนาจการบริหารเข้าสู่ส่วนกลาง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพภายในชาติ เพื่อต่อสู้กับอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและอังกฤษ การปรับปรุงกองทัพ การปรับปรุงด้านกฎหมายและการศาลให้ทันสมัย การจ้างชาวต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะด้านกฎหมายระหว่างประเทศและที่สำคัญที่สุดคือการเสียดินแดนในปี ค.ศ. 1893 (พ.ศ. 2436หรือ ร.ศ. 112) เพื่อแลกตัวเอกราชของชาติ
                   การปรับตัวของไทยดังกล่าวทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ประเทศตะวันตกจึงไม่สามารถเอามาเป็นข้ออ้างในการแผ่อำนาจเข้ามาโดยอ้างว่าเพื่อจะมาพัฒนาให้ทันสมัย การปรับตัวดังกล่าวนับเป็นความชาญฉลาดของผู้นำไทยในอดีตที่มองการณ์ไกล และรู้เท่าทันโลก

The first World War 1914-1918
                   2. ไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1
                   สงครามโลกครั้งที่ เริ่มขึ้นในยุโรปเมื่อเดือนสิงหาม ค.ศ. 1914 ระหว่างฝ่ายมหาอำนาจกลางอันมีเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี กับฝ่ายสัมพันธมิตร อันมีอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ในระยะแรกไทยประกาศตัวเป็นกลาง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิเคราะห์ สถานการณ์ในขณะนั้น แล้วเห็นว่าเราควรเข้าร่วมสงครามโดยเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งกำลังได้เปรียบในสงคราม เพื่อไทยจะได้มีโอกาสแก้ไขสัญญาที่เสียเปรียบ ผลจากการที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ทำให้นานาประเทศรู้จักประเทศไทยและไทยได้มีโอกาสเรียกร้องขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และข้อเสียเปรียบหลายประการได้รับการแก้ไขหลังสงครามโลกครั้งที่ มาสำเร็จบริบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 8.     
  3. ไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2
                   สงครามโลกครั้งที่ เริ่มขึ้นในยุโรป เมื่อวันที่ กันยายน ค.ศ. 1939 ในระยะแรกที่ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำต่อเยอรมนี ไทยได้ทำการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธไทยกับฝรั่งเศสจึงเกิดกรณีพิพาทกัน ต่อมาญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ยในปี ค.ศ. 1941 ไทยได้ดินแดนฝั่งขวา แม่น้ำโขง และเขมรส่วนในคือเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ ที่เสียให้ฝรั่งเศสกลับคืนมา

World War II in Europe
                   ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้เปิดฉากโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา ในหมู่เกาะฮาวายและญี่ปุ่นได้ส่งกำลังเข้าโจมตีไทย ในวันที่ ธันวาคม ค.ศ. 1941 ไทยไม่สามารถต้านทานญี่ปุ่นได้ จึงต้องยอมให้ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพในประเทศไทยและไทยได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 การประกาศสงครามของไทยครั้งนี้มีคนไทยที่ไม่เห็นด้วยได้รวมตัวตั้งเป็นขบวนการเสรีไทย เพื่อร่วมมือกับสัมพันธมิตรและต่อต้านญี่ปุ่น หัวหน้าขบวนการเสรีไทยที่สำคัญคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา และม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์ หัวหน้าเสรีไทยในประเทศอังกฤษ และนายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าเสรีไทยในประเทศไทย รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรองการกระทำของเสรีไทย และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและฝึกอา
                   สงครามโลกครั้งที่ ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น นายควง อภัยวงศ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ไทยได้ออกประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 นั้นเป็นโมฆะ เพราะจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสงครามโดยพลการ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศรับรองคำประกาศของไทย แต่อังกฤษไม่ยอมรับรอง ไทยได้เจรจาต่อรองกับอังกฤษและต้องยอมคืนดินแดนในมลายู และแคว้นฉานที่ได้มาระหว่างสงคราม และไทยต้องจัดส่งข้าวสารจำนวนหนึ่งล้านห้าแสนตันแก่อังกฤษ โดยไม่คิดมูลค่า และต้องยอมคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงและดินแดนเขมร ส่วนใน อันได้แก่ เสียมราฐ (Siem Reap หรือ นครวัด นครธม) พระตะบอง (Battambong) และศรีโสภณ (Banteay Mean Chey) ที่ได้มาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ คืนแก่ฝรั่งเศส ความร่วมมือกับประเทศมหาอำนาจครั้งนั้นทำให้ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1946 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55 การปรับตัวช่วงนี้ของไทยนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในภาวะคับขัน ต้องใช้ปัญญาและความสามารถของผู้นำในการเจรจาต่อรอง และยอมแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อเรียกร้องของชาติมหาอำนาจสามารถพาชาติฝ่าฟันวิกฤตมาได้
การปรับตัวของไทยในยุคสงครามเย็น
                   หลังสงครามโลกครั้งที่ ได้เกิดภาวะสงครามเย็นอันเป็นผลมาจากการแข่งขันด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และกำลังอาวุธ  ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โลกถูกแบ่งออกเป็น ค่าย คือ โลกเสรี และโลกคอมมิวนิสต์ มหาอำนาจทั้ง ฝ่ายพยายามเข้ามาแทรกแซงการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ จนนำไปสู่วิกฤตการณ์การต่อสู้อันเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือประเทศไทย จนเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ชนะสงคราม ไทยจึงเลือกให้การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในสภาวะสงครามเย็น จนเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ชนะสงคราม ไทยจึงเลือกให้การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในสภาวะสงครามเย็นอันเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลต่อไทยทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
                                2.1  การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ  ภายหลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดยโฮจิมินห์ (Nguen That Thanh) ได้รับชัยชนะในสงครามกอบกู้เอกราชของเวียดนาม ทำให้สงครามเย็นแผ่เข้ามาในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสหรัฐอเมริกาขยายบทบาททางทหารเข้ามาด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญา ป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Treaty Organization : SEATO) โดยมีสมาชิก ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน ต่อมาในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเริ่มถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม ในขณะที่จีนยังให้การสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยเกรงว่าจะเกิดช่องว่างอำนาจ จึงร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาเซียนขึ้นใน ค.ศ. 1967 เมื่อแรกตั้งเรียกว่า สมาคมอาสา(ASA) ปัจจุบันไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก นับว่าเป็นการเสริมสร้างบทบาทในเวทีการเมืองของโลกและปกป้องผลประโยชน์ของไทยในระดับนานาชาติอีกด้วย
                                2.2 นโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศอินโดจีน เมื่อคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ไทยต้องปรับปรุงเปลี่ยนนโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน ภายหลังที่เวียดนามรุกรานกัมพูชาโดยสนับสนุนให้เฮง สัมริน ขึ้นปกครองกัมพูชาและขับไล่เขมรแดงหลบหนีมาอยู่ป่าตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา โดยไทยและอาเซียนได้สร้างแนวร่วม กับประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและยุโรปตะวันตก เพื่อสกัดกั้นการขยายอำนาจของเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและมุ่งมั่นในสันติภาพของภูมิภาคนี้
                   2.3 นโยบายผูกมิตรกับประเทศตะวันตก ในยุคสงครามเย็นไทยได้ผูกมิตรกับประเทศตะวันตกโดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ นโยบายต่างประเทศของไทยในระยะนี้คือการต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับรัสเซีย และจีนหันมาปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ไทยจำเป็นต้องปรับนโยบายโดยลดความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา ถอนฐานทัพจากไทย แล้วหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับลาว กัมพูชา และเวียดนาม ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) การเมืองไทยได้ปรับเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย มากขึ้น ประชาชนและพรรคการเมืองได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศและได้มีการปรับเปลี่ยน นโยบายต่างประเทศของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ นายกรัฐมนตรี ม.ร.วคึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนเเมื่อวันที่ กรกฎาคม ค.ศ. 1975 โดยหวังจะได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมและขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มห่างเหินกันมากขึ้น
                   2.4 นโยบายการทูตเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ หรือการทูตรอบทิศทาง ในปี ค.ศ. 1985 ไทยได้เปรียบดุลการค้าจากสหรัฐอเมริกา จึงถูกสหรัฐอเมริกา ใช้มาตรการกีดกันการค้า ประเทศไทยได้ปรับตัวโดยนำการทูตเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชักชวนให้นักธุรกิจมาลงทุนในประเทศและประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ชาวต่างประเทศมาท่องเที่ยวมากขึ้น เป็นผลให้การลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนของญี่ปุ่น ชื่อเสียงของประเทศไทยจึงได้รับการยอมรับจากนานาชาติยิ่งขึ้น
                   2.5 นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า หรือนโยบายอนุภูมิภาคนิยม (Sub-regionalism) ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สงครามเย็นยุติลง ไทยหันมาร่วมมือกับประเทศอินโดจีน โดยประกาศนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” เพราะเห็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ในรูปของความร่วมมืออนุภูมิภาค หรือความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ทางภาคเหนือ มี ไทย พม่า จีน และลาว ต่อมาขยายเป็น ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจมี ไทย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ มี จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนทางใต้คือความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มี ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในขณะเดียวกันไทยพยายามจะใช้โอกาสในการเปิดประตูสู่อินโดจีน โดยมีเป้าหมายหลักคือ อินโดจีน พม่า และอาเซียนในปี ค.ศ. 1992 ไทยได้ผลักดันให้มีการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในช่วง ค.ศ. 2002 ได้เริ่มโครงการ สามเหลี่ยมมรกต” (The Emeral Triangk) เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย ลาว กัมพูชา
การปรับตัวของไทยในยุคโลกาภิวัฒน์
                   ภายหลังสงครามเย็นยุติลง สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำเพียงผู้เดียว ทั้งยังได้ประกาศระเบียบโลกใหม่ (New World Order) 4 ประการ คือ ระบอบประชาธิปไตย การค้าเสรี การเคารพสิทธิมนุษยชน และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของโลกเปลี่ยนจากระบบ สองศูนย์อำนาจไปสู่หลายศูนย์อำนาจ เกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การกีดกันการค้า การรวมกลุ่มกันด้านเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่างๆ  เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและถ่วงดุลกันด้านเศรษฐกิจ เช่น การรวมตัว เป็นตลาดเดียวของประชาคมยุโรป การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)เป็นต้น สถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและในโลกและการแข่งขันที่ไร้พรมแดน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน การปรับตัวที่สำคัญมีดังนี้
                   1.  การปรับตัวของไทยด้านสังคม กระแสโลกาภิวัฒน์ และระเบียบโลกใหม่ที่เน้นเรื่องการค้าเสรี ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกัน การแพร่ขยายอิทธิพลทางการค้าของบริษัทข้ามชาติได้เข้ามาทำลายธุรกิจขนาดย่อมภายในประเทศ สภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ไทยต้องปรับตัวเพื่อศักยภาพแห่งการแข่งขัน การปรับตัวที่สำคัญมีดังนี้
                                1.1 ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่หันมาให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืน และมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ เน้นการพัฒนาคนโดยถือว่าคนคือทรัพยากรที่สำคัญของชาติที่เรียกว่า ทรัพยากรมนุษย์” การรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรท้องถิ่น การสร้างประชารัฐ โดยมุ่งประสานรัฐกับประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน การสร้างสังคมที่ร่วมกันแก้ปัญหาทุกอย่างแบบบูรณาการในรูปเบญจภาคี ประกอบด้วยชุมชน รัฐ นักวิชาการ องค์กรเอกชน และองค์กรธุรกิจ
                                1.2 ปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่นและมีความเชื่อว่าการพัฒนาจะต้องเกิดจากความต้องการของชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ของชาวบ้านเอง ดังคำพูดที่ว่า คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ยุทธศาสตร์การพัฒนานี้มีหลักการสำคัญ ประการ คือ
                                                1.2.1 หลักการพึ่งตนเอง ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ พออยู่พอกิน
                                                1.2.2 ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต จากเพื่อการพาณิชย์ เป็นการผลิตเพื่อยังชีพ โดยมีเป้าหมายเพื่อกินเพื่อใช้ เมื่อมีส่วนเกิดจึงนำออกขาย และต้องกระจายการผลิตในครัวเรือนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงแห่งชีวิต
                                                1.2.3 พัฒนาบนพื้นฐานของวัฒนธรรมชุมชน
                                                1.2.4 ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้าน
                                                1.2.5 รวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งองค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองของภาคประชาชน
                                1.3 ปรับตัวตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ค.ศ. 2002-2006 ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทางที่มีจุดเน้นคือการดำเนินการในทางสายกลางให้ก้าวทันโลก ความพอเพียงที่เน้นการผลิตและการบริโภคบนความพอประมาณและความมีเหตุผล ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการผลิตอย่างเป็นองค์รวม มีความสมดุลย์ระหว่างการแข่งขันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และกระแสท้องถิ่นนิยมมีความหลากหลายในโครงสร้างการผลิต มีการใช้ทุนที่มีอยู่ในสังคมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายวัฒนธรรมและภูมปัญญาที่ดี มีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทันผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และเสริมสร้างจิตใจให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต มีสติปัญญา ความเพียร ความอดทน และรอบคอบ
                                1.4.1 การกำหนดสิทธิด้านการได้รับการศึกษาของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540” มาตรา 43 ได้กำหนดสาระเกี่ยวกับการศึกษาว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐบาลจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                                1.4.2 การออก “พระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ. 2542” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิรูปการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ผลิตคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ผลิตคนให้มีความรู้และมีทักษะเฉพาะด้าน ที่สำคัญคือ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ ปฏิรูปวิธีการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อม รู้เท่าทันโลกและอยู่ได้อย่างมีความสุข
                   2. การปรับตัวของไทยด้านเศรษฐกิจ  กระแสโลกาภิวัฒน์อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระเบียบทางด้านเศรษฐกิจที่เน้นเรื่องการค้าเสรี ทำให้ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกัน การเคลื่อนย้ายการผลิต และการลงทุนข้ามชาติ ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่และมีความพร้อมในการแข่งขันสูงเข้ามาแข่งขันกับธุรกิจภายในประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจภายในประเทศที่มีทุนน้อยไม่สามารถแข่งขันได้
                   ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าได้ทวีความรุนแรง ประเทศต่างๆ  มีการกีดกันการค้าโดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐานแรงงาน การรวมกลุ่มเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่างๆ ของโลกเพื่ออำนวยต่อรองและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมไทยที่สำคัญ คือ การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1997 และลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยต้องปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการปฏิรูปครั้งสำคัญ ทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจเน้นการพัฒนาบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้
                                2.1 การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนา จากการพึ่งพิงต่างประเทศมาเป็นการพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง โดยการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยมีหลักการพัฒนาทางความคิดดังนี้
                   เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่พึงตัวเองได้ ทั้งการพึ่งตนเองทางจิตใจ สังคม ทรัพยากร เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ โดยมีฐานะการคิดในการพัฒนาเป็นลำดับ ดังนี้
                   1) พัฒนาตามขั้นตอนทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมี ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ การผลิตเพื่อบริโภคในครอบครัว ขั้นที่ รวมกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด สวัสดิการ และขั้นที่ 3ร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการทำธุรกิจและพัฒนาคุณภาพชิวิต โดยทุกฝ่ายได้รับประโยชน์
                   2) สร้างพลังทางสังคม โดยประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน สื่อมวลชน เพื่อขับเคลื่อนขบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน
                   3) ยึดพื้นที่เป็นหลัก และใช้องค์กรชุมชนเป็นศูนย์กลาง
                   4) ใช้กิจกรรมชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
                   5) เสริมสร้างการรวมกลุ่ม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
                   6) วิจัยและพัฒนาธุรกิจชุมชนครบวงจร (ผลิต แปรรูป ขาย และบริโภค
                   7) พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีศักยภาพสูงแต่ละเครือข่ายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน
                 ปัจจุบันได้มีการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศโดยเฉพาะในโครงการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในชนบทและชุมชนเมือง ได้แก่ โครงการกองทุนหมู่บ้าน  โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( One Tambon One Produet = OTOP )

                             2.2 การพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน การพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ทรัพยากรการพัฒนาแบบยั่งยืนจะมีความสัมพันธ์กันทั้งระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรแบบยั่งยืน การจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เป็นต้น
                                2.3 เสริมสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชีย ในระดับที่กว้างขึ้น เช่น แนวความคิดการจัดตั้งเวทีหารือสำหรับประเทศในทวีปเอเชียที่เรียกชื่อว่า Asia Cooperation Dialogue : ACD ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมทวีปเอเชียทั้งทวีป อันได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ปากีสถาน กาตาร์ บาเรนห์  ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะและแก้ไขจุดอ่อนของแต่ละประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพความมั่นคง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ร่วมกันในเอเชียมากขึ้น
                                2.4 การปฏิรูปภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็งและความสุจริต โดยการสร้างธรรมาภิบาลด้านเอกชนให้เกิดขึ้น ธรรมาภิบาล (Good Governance) คือ การบริหารจัดการที่ดีจะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับนักลงทุนชาวต่างชาติ หลักธรรมาภิบาลที่สำคัญคือ การบริหารมีความรับผิดชอบ มีความโปร่งใส เสมอภาค และการมีส่วนร่วม ได้แก่ การรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ
                   3. การปรับตัวของไทยด้านการเมือง จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ส่วนด้านการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง การส่งเสริมการค้าเสรี การเคารพสิทธิของมนุษยชน การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบีบคั้นให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัฒน์การปรับตัวทางการเมืองที่สำคัญคือ การประกาศใช้ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540” และการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
                                3.1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) ถือเป็นการปรับตัวทางการเมืองครั้งใหญ่ สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีข้อกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และคุณภาพ โดยกำหนดให้มีมาตรฐานทางคณะธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อป้องกันการประพฤติมิชอบ โดยการกำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุม กำกับ และตรวจสอบ การทำงานของนักการเมืองและข้าราชการประจำ ได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  ศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลปกครองและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  การกระจายอำนาจและส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ท้องถิ่นบริหารงานบุคคลเก็บภาษีอากร มีอำนาจจัดการศึกษา และบริหาร ด้านสาธารณสุข  ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ข้อกำหนดว่าด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน  ที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมนับเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่งของสังคมไทย
3.2    การปฏิรูประบบราชการ  วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในปี ค.ศ.  1997  เป็นผลมาจากการสะสบปัญหาต่างๆ ที่มีมานานกว่า  30  ปี ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ ภาครัฐขาดความสามารถในการบริหารจัดการ และปรับตัวเองได้อย่างทันการ จึงจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบบริหารภาครัฐโดยปรับปรุงระบบราชการให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพ  ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารให้มีลักษณะอย่างภาคเอกชน  มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหาร  โดยใช้มาตรการต่างๆ เช่นการปรับลดกำลังคนของภาครัฐ  การจัดกลุ่มภารกิจส่วนราชการ  การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เอกชนดำเนินการแทน  การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเป็นเครือข่าย และร่วมมือกับภาคธุรกิจ เอกชนและประชาสังคมมากขึ้น ปรับรูปแบบบริหารจัดการภาครัฐใหม่ เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม  ปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ โดยเปลี่ยนกระบวนการงบประมาณจากควบคุมการใช้ทรัพยากรเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ของงาน เสริมสร้างระบบการทำงานอย่างเป็นระบบ  โดยการกำหนดเป้าหมายของการทำงานเป็นรูปธรรมโดยมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีดัชนีวัดผลสัมฤทธิ์ของงานและสามารถประเมินผลงานได้ เน้นความรับผิดชอบของผู้บริหาร  รวมทั้งการปรับเปลี่ยนระบบการเงินและการพัสดุ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อประชาชนเป็นหลัก
                เป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการเมืองคือ  เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้นำที่มีคุณภาพ  และประสิทธิภาพ โดยการยอมรับของประชาชน   ทั้งนี้เพราะศักยภาพของการแข่งขันของไทยในอนาคตขึ้นอยู่กับระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม  จริยธรรม  ความโปร่งใส  และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น